วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ชื่อและสรรพคุณผักและผลไม้ที่มีปประโยชน์ที่คุณอาจไม่รู้ 12 รายการ


                                               มังคุด
                

ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia mangostana Linn.
ชื่อโดยทั่วไป      มังคุด  หรือ  mangosteen   มังคุดคล้ายกับมะม่วงยังไงใครรู้ช่วยบอกที ทำไมในชื่อภาษาอังกฤษต้องมีคำว่ามะม่วง (mango)นำหน้าชื่อ
ชื่ออื่นๆของมังคุด  แมงคุด ,เมงค็อฟ
ลักษณะของมังคุด
  • ลำต้น มังคุดเป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร  ลำต้นตรง เปลือกลำต้นภายนอกมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ภายในเปลือกประกอบด้วยท่อน้ำยาง มีน้ำยางสีเหลือง (โดนเสื้อผ้าแล้วซักออกยากมาก)
  • ใบ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี มีขอบขนาน กว้าง 6-12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มลักษณะเป็นมัน ท้องใบจะมีสีอ่อนกว่า
  • ดอก ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่โดยจะออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองโดยจะติดอยู่จนเป็นผล(ดังที่เราเห็นกลีบสีเขียวติดอยู่ที่ผลมังคุดที่วางขาย) กลีบดอกมีสีแดง ลักษณะฉ่ำน้ำ
  • ผล ลักษณะผลสด ค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง(แบบเดียวกับลำต้น) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก (อันนี้ผมเคยเล่นทายกับเพื่อนโดยทายจำนวนเนื้อมังคุดของแต่ผลมีกี่กลับ ไอ้เพื่อนเราก็งงว่าเรารู้ได้ไง ลองเอาไปเล่นทายดูได้นะครับ สังเกตุจากกลีบดอกด้านล่างตามที่บอกไป)
คุณค่าทางโภชนาการ   นักโภชนาการได้ศึกษาจนพบว่าในมังคุด 100 กรัม ให้พลังงาน 76 แคลอรี โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรท 18.4 กรัม ใยอาหาร 1.7 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลิลกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.01 มิลลิกรัม  นับว่าเป็นผลไม้ที่ให้คุณค่ามากทีเดียว
สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยจากมังคุด
ในที่สุดก็ถึงหัวข้อหลักของบทความนี้ ดังที่กล่วไว้ในตอนต้นว่าสรรพคุณด้านสมุนไพรของมังคุด จะอยู่ที่เปลือกมาดูกันว่าเปลือกมังคุดมีสรรพคุณอะไรบ้าง
1.             รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้  โดยมีสูตรยาสมุนไพรคือ ใช้เปลือกมังคุดครึ่งผล (ประมาณ 4-5 กรัม) ต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ แก้ว
2.             รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง โดยมีสูตรยาสมุนไพรคือ ใช้เปลือกมังคุ ต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำรับประทาน ดดยมีขนาดรับประทานอยู่ที่ เด็กให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาทุก ชั่วโมง ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ ช้อนโต๊ะทุก ชั่วโมง
3.             รักษาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง (ปีนี้ไหนน้ำท่วมอีก คงได้ใช้สูตรนี้ แต่ยังไงขอให้ไม่ท่วมจะดีกว่า) สูตรสมุนไพรนี้จะใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ พอสมควร ทาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง วันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย (ก่อนที่จะทา ควรล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด ถ้ามีแอลกลอฮอร์เช็ดแผลควรเช็ดก่อน)  สาเหตุที่เปลือกของมังคุดสามรถรักษาแผลได้เพราะในเปลือก  มีสาร คือแทนนิน (tannin) ทำให้แผลหายเร็ว ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี

                                        ##############


                                                  ผักกระเฉด

                       

ชื่อโดยทั่วไป      ผักกระเฉด   Water mimosa  (ดูจากชื่อในภาษาอังกฤษ เห็นคำว่า water นำหน้ารู้แล้วใช่ไหมครับว่าผัก  กระเฉดจะขึ้นที่ไหน?
ชื่อวงศ์     MIMOSACEAE
ชื่อเรียกตามภูมิภาค         ผักหละหนอง  ผักหนอง ( แม่ฮ่องสอน หรือทางภาคเหนือ )
  ผักรู้นอน ( ภาคกลาง  ) ผัดฉีด ( ภาคใต้ ) ผักกระเสดน้ำ (อุดรธานี-ยโสธร หรือภาคอิสาน )
ลักษณะของผักกระเฉด เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็น ในแบบสำเร็จรูปพร้อมทาน แต่ถ้าตอนเก็บล่ะ รู้ไหมเป็นยังไง ?
ลำต้น      ผักกระเฉดถ้าขึ้นบนดิน ก็เป็นพืชคลุมดิน  ลักษณะเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับพวกผักบุ้ง เป็นพืชพื้นเมืองของไทยเราและยังพบได้ที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่นมาเลเซีย ผักกะเฉดสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำ และบนบก แต่ถ้าเจริญเติบโตในน้ำจะพิเศษหน่อยตรงที่จะมีส่วนที่ ทำหน้าที่เป็นทุ่นพยุงเถาให้ลอยน้ำได้เป้นเหมือนทุ่นลอยน้ำภาษาบ้านๆเขาเรียกว่า นม” หรือทางวิชาการเขาเรียกส่วนนี้ของพืชว่า Aerenchyme
ราก         ผักกระเฉดที่ขึ้นในน้ำ จะมีรากที่เกิดตามข้อที่ทอดไปในน้ำเรียกว่า หนวด
ใบ           ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตามข้อ (ลักษณะคล้ายใบมะขามมากจนตอนเด็กๆผมยังสับสน) โดยใบมีสีเขียว ขอบใบจะเป็นสีม่วง สิ่งที่พิเศษคือใบจะหุบเวลาที่โดนสัมผัสและจะหุบเองในตอนกลางคืน(ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าผักรู้นอน ดั่งที่ครูภาษาไทยสอน แต่ก็ไม่ค่อยมีคนเรียกหรอกเชื่อไหม) รากจะแตกออกเป็นกระจุกตามบริเวณข้อ ดอกและผล       ผักกระเฉดจะออกดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองตามซอกใบ ผลจะออกเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย มีเมล็ดด้านในอยู่สี่ถึงสิบเมล็ด
ในผักกระเฉดมีคุณค่าอะไรในนั้นบ้าง
สำหรับคุณค่าทางด้านโภชนาการของผักกระเฉดนั้นมีอยู่มาก แต่พอจะไล่เป็นข้อๆปล้องๆให้ฟังได้ดังนี้
-  ผักกระเฉดมีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งเจ้าวิตามินเอนั้น มีความสำคัญกับตา ช่วยในการมองเห็นโดยเฉพาะภาวะที่มีแสงน้อย นอกจากนั้นวิตามินเอในผักกระเฉด ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างเป้นปรกติ และที่สำคัญยังในการเจริญโตและ ช่วยในระบบสืบพันธ์ ใครไม่อยากเป็นหมันก็อย่าลืมผักกระเฉดนะครับ
-   ผักกระเฉด มีแคลเซียม ซึ่งเป้นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปรกติ
-   ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กนั้นมีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด หากขาดธาตุเหล็ก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของผักกระเฉด
นอกจากสรรพคุณด้านโภชนาการแล้ว ผักกระเฉดยังมีสรรพคุณด้านการเป้นสมุนไพรอยู่ด้วย กล่าวคือตามตำราสมุนไพรไทย ผักกระเฉดเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ และนอกจากนั้นยังมีสูตรยาโบราณ ที่นำผักกระเฉด ตำผสมกับสุราแล้วหยอดบริเวณฝันที่ปวด ซึ่งเชื่อว่าสามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้
การนำผักกระเฉดไปประกอบอาหาร
จริงๆผักกระเฉดทำอาหารได้หลายอย่าง มากกว่าแค่ที่ผมบอกว่าใส่ในยำวุ้นเส้น แล้วแต่เราจำนำไปประยุกต์ หรือทานสดเป็นผักกับน้ำพริกก็ยังได้ ซึ่งทางเว็บเราจะขอข้ามในเรื่องสูตรอาหารไป แต่จะแนะนำเคล็ดลับเล็กน้อยในการเลือก โดยควรเลือกผักกระเฉดที่มียอดอ่อน จะกรอบและอร่อย ส่วนเคล็ดลับในการลวกผักกระเฉด คือน้ำต้องเดือด ใส่เกลือเล็กน้อย และสำคัญที่สุดคือห้ามลวกนาน เพราะผักกระเฉดจะเหนียว ถ้าจะให้ดีลวกแล้วควรตักใส่น้ำเย้นจัดทันที หรือเอาน้ำแข็งโปะก็ได้ ผักกระเฉดจะกรอบและอร่อยมากๆ
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวน่ารู้ของผักทสมุนไพรที่ได้ชื่อว่าอุดมไปด้วยวิตามินอย่างผักกระเฉด
                    



                                        ##############


                                                  ตำลึง

                     

ชื่อทั่วไป    ตำลึง หรือ Lvy Gourd, Coccinia
ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Cocconia grandis (L.) Voigt
ชื่ออื่น ๆ   ผักแคบ (ทางภาคเหนือ)แคเด๊าะ (เผ่ากะเหรี่ยงและในแม่ฮองสอน)สี่บาท (ภาคกลาง ยังจำที่ครูให้ท่องกันได้ไหม หนึ่งตำลึงเท่ากับสี่บาท)ผักตำนิน (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่วไปของตำลึง
  • ลำต้น ตำลึงเป็นไม้เลื้อย มีมือจับเพื่อเอาไว้ยึดเกาะหลักเช่นแนวรั้ว อย่างที่เราเห็น หรือยึดเกาะต้นไม้ต่างๆ เถาตำลึงจะเป็นสีเขียว
  • ใบ ส่วนใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา ลักษณะใบจะเป็น เป็น แฉก หรือบางที  แฉก ขนาดประมาณ 4-8 ซม. โคนใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
  • ดอก ลักษณะดอกของตำลึง เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว มีทั้งออกดอกเดี่ยวๆ และออกเป็นกลุ่มสองถึงสามดอกก็มี
  • ผล  มีรูปร่างคล้ายแตงกวา แต่มีขนาดเล็กกว่าผลแตงกวา ในขณะที่เป็นผลอ่อนจะเป็นผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดงสด
คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง
ในใบสีเขียวของตำลึง อุดมไปด้วยวิตามินวิตามินเอ ช่วยในการมองเห็น มีเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด มี fiber หรือกากใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย นอกจากนี้ในตำลึง ยังมีแคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
จากตำรายาด้านสมุนไพร มีการระบุถึงสรรพคุณของตำลึงโดยแยกเป็นส่วนต่างๆ ของตำลึงไว้ดังนี้
  • ใบ ใช้เป็นยาเขียว ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (อันนี้เป็นสำนวนของคนโบราณหมายถึงบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน)  เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย(หรือพืชอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการคัน แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด  แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
  • ดอก สรรพคุณใช้บรรเทาอาการคันผิวหนังได้
  • เมล็ด ใช้ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิดได้ (หิดเป็นโรคที่เกิดจากปรสิตที่เรียกว่าตัวหิด หรือ Scabies miteไชเข้าผิวหนังทำให้เกิดตุ่มคัน)
  • ราก ลดไข้ อาเจียน ลดความอ้วน ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย(อันนี้ถ้าโดนแนะนำให้หาหมอนะครับ)
  • เถา ใช้ชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ เป็นยาทาพอกแก้โรคผิวหนัง มีสรรพคุณลดไข้เช่นเดียวกับใบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ทั้งต้น (ราก ใบ เถา) นำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว
สูตรยาสมุนไพรไทยจากตำลึง
1. สูตรยาถอนพิษ (จากพืช ที่ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน) ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ทาบรเวณที่ถูกพิษ ปวดแสบปวดร้อน จะสามารถบรรเทาอาการลงได้ 
2. สูตรยาช่วยย่อยอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรต  ใช้ยอดอ่อน และใบ ปรุงเป็นอาหาร จะสามรถช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้นได้
3.สูตรยารักษา อาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใบสดหนึ่งกำมือ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้ละเอียด โดยผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบมาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำจนกว่าอาการจะบรรเทา
ทั้งหมดนี้คือประโยชน์จากตำลึง พืชสมุนไพรข้างรั้วที่บางครั้งเราอาจมองข้ามมันไป

                                           ##############
    
                                                    ชะอม
                     

ชื่อทางวิทยาศาสตร์   Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen
ชื่อวงศ์           Fabaceae
ชื่อทั่วไป        ชะอม หรือ Acacia pennata
ชื่ออื่นๆของชะอม   ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา
ลักษณะของต้นชะอม
  •  ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน
คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

ชะอมเแป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จัดว่าไม่เบาเลยทีเดียว โดยยอดชะอม 100 กรัม ให้สารอาหารต่างๆดังนี้
  • ให้พลังงานกับร่างกาย   57 กิโลแคลอรี่
  • มีเส้นใย ซึ่งมีส่วนช่วยระบบขับถ่ายอยู่ 5.7 กรัม
  • มีแคลแซียมซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันอยู่ 58 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัสซึ่งช่วยให้วิตามินบีต่างๆทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพซึ่งมีอยู่ถึง 80 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด บำรุงโลหิต    4.1 มิลลิกรัม
  • มีวิตามินต่างๆดังนี้  วิตามินเอ(บำรุงสายตา) 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
คุณค่าทางด้านสมุนไพรไทย
ใบชะอม (เน้นที่ใบหรือยอดอ่อน)   สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
รากชะอม   หากนำมาต้มรับประทาน  จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรด จุกเสียดแน่นท้องและขับลมในกระเพาะอาหาร
ข้อควรระวังเล็กๆน้อยๆในการรับประทานชะอม
ผักชะอมในช่วงหน้าฝน จะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนมาก บางครั้งหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ปวดท้องและสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนแนะนำว่าไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้งได้

                                       ##############

                                          กระเจี๊ยบเขียว 
                  


ชื่อทั่วไป  กระเจี๊ยบเขียว หรือ  Lady ‘ s Finger (แปลตรงตัวคือเล็บมือนางนั่นเอง แต่ต้นเล็บมือนางของไทยเป็นอีกต้นหนึ่งนะครับ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus Moench.
ชื่อวงศ์   MALVACEAE
ชื่ออื่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ กระเจี๊ยบขาว
 ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว
  • ลำต้น  มีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2  เมตร
  • ใบ       ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ
  • ดอก   มีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด
  • ฝัก      คล้ายนิ้วมือผู้หญิง (ดังชื่อในภาษาอังกฤษ) ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวานกรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว
การนำกระเจี๊ยบเขียวไปประกอบอาหาร
กระเจี๊ยบเขียวนอกจากใช้ลวกจิ้มเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก ยังใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด  เช่น  แกงส้ม  แกงใส่ปลาย่าง  สุดแต่จะนำไปประยุกต์ สำหรับคนไม่เคย รับประทาน กระเจี๊ยบเขียว อาจจะรับประทานได้ยากกันสักหน่อย  เพราะ ฝักของมัน ข้างในจะมี ยางเมือก ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ แต่ทานบ่อยๆจะชินเอง คนสมัยก่อนนิยมเอาไป ต้ม หรือ ต้มราดกะทิสด (การราดกระทิสดบนผักเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งในการดึงวิตามินที่ละลายในไขมันได้ให้ออกมาจากผักให้ร่างกายดูดซึมให้ใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น) กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู จะให้รสชาติที่ดีมากๆ ลองทานดูได้นะครับ
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสรรพคุณด้านสมุนไพรในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้  รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย15วัน(แต่ข้อนี้ผมแนะนำให้ใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่า)
นอกจากนั้นยังมีสูตรการทานกระเจี๊ยบเขียวเป็นยาสมุนไพรต่างๆดังนี้
รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก

รับประทาน 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
รับประทาน 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
รับประทาน ฝัก ก่อนอาหาร มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
รับประทาน 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง

คุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบเขียว    
กรเจี๊ยบเขียวเส้นมีใยอาหารตามธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย  มีแคลเซียมช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน และยังมี วิตามินต่างๆสูง และนอกจากนั้นยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และจำเป็นต่อทารกในครรภ์

                                                               ##############

                                                 พริกไทย
                            

ชื่อโดยทั่วไป พริกไทย หรือ   Pepper

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Piper nigrum Linn.
ชื่อวงศ์ Piperraceae
ชื่อตามภูมิภาค   พริกน้อย (ภาคเหนือ)

พริก (ภาคใต้) พริกไทยดำ พริกไทยล่อน
  พริกขี้นก (ภาคกลาง)
ลักษณะของต้นพริกไทย
เมื่อเรารู้จักกับชื่อต่างๆของพริกไทยแล้วคราวนี้ก็มาถึงลักษณะของต้นพริกไทยกันบ้าง  เชื่อนะครับว่าทุกคนเคยเห็นพริกไทยเม็ด พริกไทยออ่น แต่ถ้าต้นพริกไทยผมว่าน้อยคนนักจะได้เห็น เรามาดูลักษณะของต้นพริกไทยกันเลยครับ
  • ลำต้น  เป็นไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ พริกไทยถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน
  • ราก    รากของต้นพริกไทยมักเกิดบริเวณข้อ ตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ โดยจะใช้ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณสามถึงหกราก และรากฝอยแตกออก
  • ใบ      ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ
  • ดอก  ของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง
  • เมล็ด จะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง ดังที่เราเห็นในพริกไทยอ่อนบนจานผัดเผ็ด
คุณค่าทางด้านโภชนาการของพริกไทย   ในพริกไทยนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการหลายประการ อาทิเช่น
1.           พริกไทยนั้นมีแคลเซียมในปริมาณที่สูงมาก โดยเฉพาะในพริกไทยอ่อน ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงอยู่เสมอ และแคลซียม ยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้อีกด้วย
2.           พริกไทยมี ฟอสฟอรัสวิตามินซี  ซึ่งวิตามินซีนั้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชลอกการเสื่อมสภาพของเซลล์ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
3.           มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยในการมองเห็น
4.           มีสารที่ชื่อว่า ไปเปอรีน และ ฟินอลิกส์  ซึ่งทั้งคู่เป็นสารต้านอนุูมูลอิสระ มีสรรพคุณในการป้องกันมะเร็ง
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
นอกจากคุณค่าทางด้านโภชนาการแล้ว พริกไทยยังมีคุณค่าทางด้านสมุนไพรไทยอีกหลายประการ โดยพอจะแยกเป็นสรรพคุณของแต่ละส่วนดังต่อไปนี้
  • ดอก  มีการระบุในตำราสมุนไพรไทยว่ามีสรรพคุณ แก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง
  • เมล็ด มีสรรพคุณในการใช้เป้นยาช่วยย่อยอาหาร ขับสารพิษตกค้าง ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
  • ใบ ในใบพริกไทยมีสรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ปวดมวนท้อง
  • เถา ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องร่วงอย่างรุนแรง และท้องเดินหลายๆครั้ง
  • ราก ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง วิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร และเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย
  • น้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยนั้น สามรถช่วยแก้หวัด ทำให้จมูกโล่ง นอกจจากนี้ยังใช้ลดน้ำหนัก นำมาทานวดตามร่างกายในส่วนที่ต้องการลดได้ และนอกจากนี้พริกไทย ยังมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด จึงนิยมนำมาถนอมอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่นไส้กรอก กุนเชียง หมอยอ ซึ่งจะมีพริกไทยเป็นส่วนผสม

                                         
                                          ##############



                                               มะรุม
                         

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Moringa oleifera  Lam.
ชื่อโดยทั่ไป :  มะรุม หรือ Horse radish tree, Drumstick  (คำนี้แปลว่าไม้กลอง สังเกตุต้นมะรุมดู)
ชื่ออื่น :  กาเน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ)  เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของมะรุม
  •      ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-6 เมตรหรือใหญ่กว่าเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม
  •     ใบ  ใบสลับแบบขนนก หรือ ชั้น ยาว 20-60 ซนติเมตร ใบชั้นหนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่รูปไข่หัวกลับรูปคู่ขนาน ใต้ใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทาขนาดใบยาว 1-3      เซนติเมตร
  •     ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ กลีบดอก กลีบ สีขาวหรือขาวอมเหลืองแต้มสีแดงเข้าที่ใกล้ฐานด้านนอกยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง 0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน กลีบ ตั้งตรง เกสรตัวผู้แยกจากกันสมบูรณ์ อันไม่สมบูรณ์ อันเรียงสลับกันมีขนสีขาว ที่โคนอับเกสรสีเหลืองเกสรตัวเมีย อัน ผลยาวเป็นฝัก เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เซนติเมตร ปีก
เมื่อรู้จักกับมะรุมแล้ว ขออนุญาตพูดถึงมะรุมต่อ ดังที่บอกไปในตอนต้น ปัจจุบันมีคนพูดถึงมากเหลือเกินโดยเฉพาะบรรดาบริษัทผลิตอาหารเสริมต่างๆที่มีการนำมะรุมมาแปรรูปเป็นแคปซูลสกัด ในกรณีที่ทำเป็นแคปซูลโดยบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กรณีนี้ไม่ว่าอะไร แต่ถ้าเป็นกรณีที่บอกว่าใช้เป็นยารักษาสารพัดโรคล่ะก็ อันนี้ต้องคุยกันยาว เพื่อตอบข้อสงสัยผมขอเขียนลักษณะถามตอบเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการจับประเด็นก็แล้วกันครับ
มะรุมเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงจริงหรือ ?
ข้อนี้ตอบว่าจริงครับ อันนี้ยอมรับเลยมะรุมมีแร่ธาตุและสารอาหารหลายชนิด โดยที่ฝักมะรุม  100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม
มะรุมรักษาโรคเอดส์ได้จริงหรือไม่ ? ตอบว่ายังไม่มีการศึกษาในส่วนนี้อย่างเป็นทางการ  สรรพคุณของมะรุมมีแต่เพียงว่าเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้น ดังนั้นสำหรับผู้ป่วย HIV ยาต้านไวรัสที่คุณหมอจัดให้ ยังคงจำเป็นอยู่
มะรุมรักษาเบาหวานได้หรือไม่ ? ไม่มีสมุนไพรชนิดไหนที่รักษาเบาหวานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มะรุมสามรถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับพืชสมุนไพรหลายชนิดเช่นมะระ แต่หากมีอาการเบาหวานจริงๆ การรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันยังคงดีที่สุด
สรรพคุณของมะรุมจริงๆแล้วคืออะไร
หากท่านได้ลองค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจจะพบมีการอ้างประโยชน์ของมะรุมมากกว่านี้ แต่ผมจะนำเสนอเฉพาะประเด้นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามะรุมมีสรรพคุณในข้อนั้นจริง ๆ ส่วนประเด็นที่ยังเป้ข้อสงสัยและถกเถียงผมจะขออนุญาตไม่นำเสนอ
1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ (มีการทดลองใช้ในประเทศแถบแอฟริกาที่มีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการ )
2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงดังที่กล่วไป แต่ต้องความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย
3. สามรถลดความดันโลหิตได้
4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
5. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง (เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด)
6. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น
7. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
8.บำรุงสายตา (เนื่องจากวิตามินเอในมะรุม)
สุดท้ายอยากจะฝากนิดนึงนะครับ ว่ามะรุมเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีคุณค่าในตัวมันอยู่แล้ว แต่ผมอยากให้มองว่ามะรุมเป็นผักชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ ดีกว่าการมองมะรุมเป็นยาที่มีความพิเศษหรืออัศจรรย์ หรือหากจะมองเป็นยาจริง ก็ขอให้มองเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อสุขภาพที่ใช้ควบคู่กับการรักษาในกระแสหลักจะเป็นการดีที่สุด

                                          ##############
                                                  มะระจีน
                   

ชื่อวิทยาศาสตร์  ของมะระจีน     Momordica charantia
ชื่อในภาษาอังกฤษ  มีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (ผมชอบชื่อ bitter melon มากครับแปลตรงตามตัวคือแตงขม รู้เลยว่ารสชาติเป็นอย่างไร)
ชื่อวงศ์  Cucurbitaceae (จะสังเกตุว่าเป็นพืชวงศ์เดียวกับกับแตงกวา)
ลักษณะของต้นมะระจีน

ลำต้น มะระจีนเป็นพืชเลื้อยลักษณะเป็นเถา มีมือเกาะใช้ยึดพยุงลำต้นให้พันขึ้น
ใบ ลักษณะใบจะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีของหยักๆ รูปคล้ายฝ่ามือ
ดอกสีเหลืองมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น
ผล ผลของมะระจีนมีขนาดใหญ่ เนื้อหนา รูปร่างยาว รอบๆผลจะเป็นสันตะปุ่มตะป่ำประมาณ 10 สัน (ลองนับดูได้นะครับว่า 10 สันจริงไหม) ผลอ่อนสีขาว ผลแก่มีสีเขียว
สรรพคุณด้านสมุนไพรในการรักษาโรคเบาหวานของมะระจีน

มะระจีนมีสรรพคุณอยู่มากทีเดียว แต่สรรพคุณที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของมะระจีนคือ มีคุณสมบัติในการบำบัดและรักษาโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น จากการศึกษาพบว่ามะระจีนจะช่วยเพิ่มเบต้าเซลล์(beta-cell)ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (insulin Hormone) ที่เป็นฮอร์โมนสำคัญในในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  และในมะระจีนยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวานในระยะเริ่มต้นเป็นอย่างยิ่ง (แนะนำให้รักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันนะครับ)  สำหรับการใช้ในการรักษา เราจะใช้เนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม หรือเพื่อเพิ่มรสชาติสามารถผสมกับชาอื่นๆได้

สรรพคุณด้านสมุนไพรอื่นๆ

ผล  มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และนอกจากนั้น ยังสามรถใช้ทาภายนอก แก้ผิวหนังแห้ง ลดอาการระคายเคือง ผิวหนังอักเสบ
ราก  ตามตำรากล่าวว่ามีฤทธิ์ ฝาดสมาน ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก แก้บิด ต้มดื่มแก้ไข้
เถา มีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อน แก้บิด
เมล็ด มีรสขมใช้ขับพยาธิตัวกลม
ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ
 ไม่ควรรับประทานมะระทีมีผลสุก  (ปรกติก็ไม่ค่อยมีใครทานอยู่แล้วแต่บอกเผื่อไว้ โดยที่ผลสุกจะออกสีแดง ต่างกับผลแก่ที่เราทานซึ่งมีสีเขียว)  ซึ่งในมะระผลสุกจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากสารซาโปนิน ซึ่งสารนี้มีพิษต่อร่างกาย และไม่ควรทานมะระมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

เคล็ดลับการลดความขมของมะระ


หวานเป็นลมขมเป็นยา คำนี้ทุกคนรู้ดี แต่ถ้าขมมากๆอาจพาลทำให้ไม่อยากทานเอา สำหรับวิธีการลดความขมของมะระ คือก่อนนำไปประกอบอาหารให้นำมะระแช่กับน้ำเกลือ (อัตราส่วนเกลือ ช้อนชากับน้ำ ลิตร )โดยแช่ทิ้งไว้สัก 20 นาทีแล้วเทน้ำทิ้ง จากนั้นก็แช่น้ำเปล่าอีก 10 นาทีก่อนนำขึ้นมาประกอบอาหาร และที่สำคัญเวลาประกอบอาหารโดยการต้มเช่นแกงจืด ไม่ควรเปิดฝาหรือคน เพราะจะทำให้มะระขม นี่คือเคล็ดลับง่ายๆในการลดความขมของมะระ


                                        ##############

                                              มะเขือยาว 
                    

ชื่อทางวิทยาศาสตร์    SO-LANUM MELONGENA LINN.
ชื่อวงศ์    SOLA-NACEAE
ลักษณะของมะเขือยาว
  • ลำต้น   มะเขือยาวจัดเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณเมตร ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น กิ่งอ่อนมักมีขนละเอียดปกคลุมทั่วและมักมีหนามขนาดเล็ก
  • ใบ  เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนนุ่ม ผิวใบสีเขียวสด
  • ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ 3-5 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแหลม ดอกเป็นสีม่วง กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อันอยู่ติดกับกลีบดอก ก้านเกสรและอับเกสรเป็นสีเหลือง
  • ผล รูปกลมยาว มี 2 พันธุ์คือพันธุ์ที่มาีผลเป็นสีเขียว กับ พันธุ์ที่ผลเป็นสีม่วง ผิวผลเรียบเกลี้ยงและเป็นมัน ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เวลาติดผลดกและผลยาวห้อยลงจะดูสวยงามทั้งสีเขียวและสีม่วง โดยมะเขือยาวเองจะติดผลตลอดปี เรียกว่าหากปลูกแล้วมีให้ทานตลอด
คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว
อย่างที่บอกไป ว่ามะเขือยาวมีคุรค่าทางโภชนาการหลายอย่าง เช่น คาร์โบไฮเดรต ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย เส้นใยอาหารช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย โปรตีนช่วยในการเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  ฟอสฟอรัส ช่วยให้วิตามินบีต่าง ๆทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือด  โพแทสเซียม ช่วยในเรื่องการควบคุมความดันโลหิต     นอกจากนั้นยังมี   วิตามินวิตามิน B2 วิตามินC
ที่กล่าวไปข้างต้นเป้นแค่ส่วนหนึ่งนอกจากนั้น มะเขือยาวยังมีสารไกลโคอัลคาลอยด์ (Glycoalkaloid)  สารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า เทอร์ปิน (terpene) เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยรักษาหลอดเลือดหัวใจให้เป้นปรกติ ป้องกันโรคความดันโลหิตสุง ลดอาการบวม และช่วยขับปัสสาวะได้
สรรพคุณทางสมุนไพรไทยของมะเขือยาว
ลำต้นและราก แก้บิดเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด* แผลอักเสบ
ใบ แก้ปัสสาวะขัด  พอกแผลบวมเป็นหนอง
ผลแห้ง ทำเป็นยาเม็ดกินแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้* ขับเสมหะ ผลสด ตำพอกแผลอักเสบมีหนอง
ขั้วผลแห้ง เผาเป็นเถ้าบดให้ละเอียดกินเป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้*
*สำหรับอาการอุจจาระมีเลือดปนมีสาเหตุการเกิดได้หลายสาเหตุ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันนะครับ
ทั้งหมดนี้คือคุณค่าดีๆของพืชผักสมุนไพร ที่ชื่อว่ามะเขือยาว ที่เรานำมาฝากกัน ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สสส.(สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ) ,หนังสืออาณาจักรพืชผัก สมุนไพรสร้างสมอง

                                          ##############

                                              ดอกคำฝอย         
                           

ชื่อวิทยาศาสตร์  Carthamus tinetorius L.
ชื่อวงศ์   Compositae
ชื่อโดยทั่วไป   คำฝอย หรือ Safflower,False Saffron ,Saffron Thistle (จะสังเกตว่าชื่อในภาษาอังกฤษมักมีคำว่า Saffron ซึ่งคำว่า Saffron นี้แปลว่า สีเหลืองอมส้ม  ซึ่งบอกถึงลักษณะสีของดอกคำฝอยได้เป้นอย่างดี)
ชื่ออื่นๆตามแต่ละภูมิภาค  ดอกคำ (ภาคเหนือ) ,คำยอง (ลำปาง) ภาคอื่นๆจะไม่มีชื่อเฉพาะนะครับ
ลักษณะของต้นคำฝอย
เป็นไม้ที่สู้ไม่ถอย (ไม้ล้มลุก) สูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็ลักษณะคล้ายฟันเลื่อย ปลายจะแหลม ปลูกง่าย ชอบอากาศเย็น มักขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ดอก มีรสหวาน สรรพคุณบำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ บำรุงระบบประสาท ขับประจำเดือน และที่สำคัญที่ทำให่ดอกคำฝอยเป็นที่นิยมคือสรรพคุณในการ ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน    นอกจากนั้นในดอกแก่ยังใช้ทำเป็นสีในการปรุงแต่งอาหาร โดยวิธีการจะนำดอกที่แก่มาชงกับน้ำร้อน แล้วกรองจะได้สีเหลืองเข้ม นำไปผสมอาหารเช่นขนม โดยใช้ในปริมาณที่เหมาะสม นับว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
เกสร  บำรุงโลหิต  ช่วยในเรื่องประจำเดือนของสตรี
เมล็ด  มีสรรพคุณด้านสมุนไพรในการขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง หรือนำมาบด ทาแก้บวม
สูตรชาจากดอกคำฝอย

นำดอกคำฝอยไปตากให้แห้ง นำไปชงกับน้ำร้อนในอัตราส่วน ดอกคำฝอยสองช้อนโต๊ะ ต่อน้ำหนึ่งแก้ว จะได้ชาดอกคำฝอยกลิ่นหอมน่ารับประทาน  แต่ถ้าใครเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก (หรือไม่รู้จะหาต้นคำฝอยได้ที่ไหน) เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องไม่ยากเลยครับ เพราะดอกคำฝอยเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่คนนิยมนำมาแปรรูปขาย สามรถซื้อดอกคำฝอยที่ตากแห้งพร้อมชง ได้ตามร้าน OTOP ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้าก็มีให้เห็นบ่อยๆ แม้กระทั่งในเซเว่น(บางสาขา) ยังมีให้เห็นด้วยซ้ำ ยังไงก็ลองหามาทานดูได้  สุดท้ายช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ



                                             ##############

                                                    สัปปะรด
                       

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสัปปะรด :   Ananas comosus  (L.) Merr.
ชื่อโดยทั่วไป:  สับปะรด หรือ Pineapple (หลายคนอาจงงว่ามันเกี่ยวกับแอบเปิ้ลยังไง จริงๆคำนี้มันก็ตามตัวนะครับคือฝรั่งจะมีขนมอย่างหนึ่งที่ใช้ผลไม้เป็นองค์กระกอบ ซึ่งก็คือพายผลไม้นั่นเอง คราวนี้มันมีพายอันหนึ่งคือพายทำจากแอปเปิ้ล ลักษณะจะออกสีเหลืองๆ ซึ่งลักษณะมีเนื้อคล้ายๆของเนื้อสับปะรด เมื่อฝรั่งได้เห็นสับปะรดเป็นครั้งแรกจึงตั้งชื่อผลไม้ที้ว่า พาย-แอปเปิ้ลนั่นเอง
ชื่อวงศ์ :   Bromeliaceae
ชื่ออื่น :  หมากนัด (ภาคอีสาน) แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ลิงทอง (เพชรบูรณ์) จะเห็นว่าชื่อตามท้องถิ่นมีเยอะมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ขึ้นได้หลายที่นั่นเอง
ลักษณะของสับปะรด : เป็นผลไม้สมุนไพร ที่เป้นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวีสลับซ้อนกัน ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ อัน เรียบกัน ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำมีตาอยู่รอบผลที่เป้นลักษณะเฉพาะของสับปะรด
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย : สับประรดเรียกได้ว่าทุกส่วนมีสรรพคุณด้านสมุนไพรไทยแทบทั้งสิ้นสุดแต่เราจะเลือกใช้
·         ราก -  ใช้บรรเทานิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
·         หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
·         ใบสด - เป็นยาระบาย ฆ่าและถ่ายพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
·         ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
·         ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
·         ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา (ฉะนั้นทางสับปะรดก็อย่าทิ้งแกนกลางมันนะครับ)
·         เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
·         จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
·         แขนง - แก้โรคนิ่ว
·         ยอดอ่อนสับปะรด - แก้นิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :

แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
เคล็ดลับในการรับประทานผลสับประรด ให้ได้รสชาติดีและปลอดภัย
                        

ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงๆ เป็นแถว เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น (ลองสังเกตตอนที่แม่ค้าหั่นดูก็ได้)แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid และ เอ็มไซม์ บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หลังรับประทาน
มาทานสับประรดกันนะครับนอกจากเป็นผลไม้ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเกษตรกรไทยอีกด้วย
                                           ##############

                                                   อินทนิล
ส่วนใหญ่พืชที่เรานำมาทำสมุนไพร คนจะนึกถึงพืชล้มลุก ต้นเล็กๆ แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนั้น แต่สมุนไพรไทยบางอย่างก็อาจเป็นต้นไม้ใหญ่ได้เช่นกัน อย่างเช่นในวันนี้สมุนไพรไทยที่เราจะพูดถึงกันก้จัดเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีชื่อว่า อินทนิล นั่นเอง

                      

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อโดยทั่วไป:   Queen’s crape myrtle , Pride of India (ชื่อนี้บอกถิ่นที่มาของพืชชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี)
ชื่อวงศ์ :   LYTHRACEAE
ชื่อตามภูมิภาค :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลานราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลางใต้)



ลักษณะของต้นอินทนิล:

ลำต้น  เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะค่อยๆตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น  ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น  เปลือกหนาประมาณ 1 ซม.  เปลือกในออกสีม่วง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือบางทีเป้นรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน
ดอก ดอกของอินทนิลจะมีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต มีความสวยงามตามะรรมชาติ ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม.  เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง เผยให้เห็นเมล็ดเล็กๆ ที่มีปีกเป็นครีบบางๆ ทางด้านบน
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย

ใบอินทนิล มีรสจืด-ขมฝาดเย็น ใช้ต้มหรือชงกับน้ำร้อน ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการเบาหวาน ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
เปลือก  มีรสฝาดขม ต้มกับน้ำรับประทานแก้ไข้และแก้ท้องเสีย
เมล็ด    มีรสขม แก้ดรคเบาหวาน ช่วยให้นอนหลับสบาย
แก่น     มีรสขมใช้ต้มดื่ม รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
ราก      มีรสขม ใช้รักษาโรคแผลในปาก








                                             **********
ขอขอบคุณ ที่มาจาก
http://ไทยสมุนไพร.net